สภายุโรปฉาว รอง ปธ.กับอีก 3 คน โดนจับ ข้อหารับสินบนจากชาติอ่าวอาหรับ

สภายุโรปฉาว

สภายุโรปฉาว รอง ปธ.กับอีก 3 คน โดนจับ ข้อหารับสินบนจากชาติอ่าวอาหรับ

รัฐสภายุโรปตกเป็นข่าวอื้อฉาว หลังจากมีการตั้งข้อหาบุคคล 4 คนรวมถึงรองประธานสภา ฐานรับสินบนจากประเทศในอ่าวอาหรับ ซึ่งรายงานระบุว่าคือ กาตาร์

สภายุโรปฉาว

สำนักข่าว บีบีซี รายงานเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ธ.ค. 2565 ว่า ผู้พิพากษาสืบสวนของประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นผู้นำการสืบสวนคดีรับสินบนจากชประเทศอ่าวอาหรับ ซึ่งรายงานระบุว่าคือ กาตาร์ ภายในรัฐสภายุโรป โดยตั้งข้อหาผู้ต้องสงสัย 4 รายที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ด้วยข้อหามีร่วมร่วมในองค์กรอาชญากรรม, ฟอกเงิน และคอร์รัปชัน

ตามการเปิดเผยของสำนักงานอัยการกลางเบลเยียม ตำรวจยึดเงินสดจำนวนราว 600,000 ยูโรได้ระหว่างปฏิบัติการตรวจค้น 16 จุดในกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ยึดคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือหลายเครื่องมาเพื่อตรวจสอบเนื้อหาภายใน และจับกุมผู้ต้องสงสัย 6 ราย ก่อนจะปล่อยตัวไป 2 รายในเวลาต่อมา

หนึ่งในผู้ที่ถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาคือ น.ส. อีวา ไคลี รองประธานสภายุโรปและสมาชิกหัวสังคมนิยมจากประเทศกรีซ โดยเธอถูกพพักจากการปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มพันธมิตรสังคมนิยมและประชาธิปไตยก้าวหน้า (S&D) ในรัฐสภายุโรป และถูกขับออกจากพรรค ปาซอค (Pasok) สายกลางซ้ายในประเทศกรีซด้วย

อัยการเบลเยียมระบุอีกว่า เจ้าหน้าที่สืบสวนสงสัยว่าประเทศในอ่าวอาหรับชาติหนึ่งพยายามใช้เงินหรือของขวัญ เพื่อเข้ามามีอิทธิพลในการตัดสินทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของรัฐสภายุโรปมานานหลานเดือนแล้ว

สื่อท้องถิ่นของเบลเยียมระบุว่า ประเทศต้องสงสัยดังกล่าวคือ กาตาร์ อย่างไรก็ตาม โฆษกรัฐบาลกาตาร์ปฏิเสธผ่านสื่อโดยระบุว่า เราไม่ทราบรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับการสืบสวน คำกล่าวอ้างใดๆ เรื่องการกระทำผิดโดยรัฐกาตาร์เป็นให้ข้อมูลผิด อย่างร้ายแรง ประเทศของพวกเขาบริหารโดยทำตามข้อบังคับและกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ น.ส.ไคลีมีหน้าที่รับผิดชอบในฐานะรองประธานรัฐสภายุโรปในหลายภูมิภาค รวมถึงในตะวันออกกลาง เมื่อเดือนก่อน เธอเพิ่งออกมากล่าวปกป้องกาตาร์ที่ถูกกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างการตรวจความพร้อมจัดการแข้งขันฟุตบอลโลก ทำให้แรงงานเสียชีวิตหลายร้อยรายในโปรเจ็คก่อสร้างสนามและอื่นๆ

“กาตาร์คือผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนแรงงาน จากการทที่พวกเขายกเลิกกฎหมาย คาฟาลา ที่ชาติอ่าวอาหรับอื่นๆ ใข้ และถูกองค์กรสิทธิมนุษยชนมากมายนำไปเปรียบเทียบว่าเป็นการใช้แรงงานทาศในยุคปัจจุบัน” น.ส.ไคลีกลาวเมื่อเดือนพฤศจิกายน เธอยังกล่าวหาสมาชิกสภายุโรปบางคนด้วยว่า รังแกและกีดกันกาตาร์